ประชาคมอาเซียนและกฎบัตรอาเซียน
คืออะไร และสำคัญอย่างไร ?
"ประชาคมอาเซียน"
(ASEAN Community) เกิดจากสมาคมแห่งประชาชาติเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
(The Association of Southeast Asian Nations-ASEAN)
หรือ "อาเซียน" โดยอาเซียนเดิม
ได้ถือกำเนิดจากการประกาศ "ปฏิญญากรุงเทพฯ"
(Bangkok Declaration) โดยมีประเทศสมาชิกเมื่อเริ่มก่อตั้งรวม
5 ประเทศ ได้แก่ อินโดนีเซีย ไทย มาเลเซีย
ฟิลิปปินส์ และ สิงคโปร์ เมื่อปี 2510 เพื่อ
ส่งเสริมความร่วมมือและช่วยเหลือซึ่งกันและกันในทางเศรษฐกิจ
สังคม วัฒนธรรม เทคโนโลยี วิทยาศาสตร์ และ
การบริหาร

ช่วงก่อตั้งอาเซียนได้ผ่านการพัฒนาหลายด้าน
มีการประกาศปฏิญญาอีกหลายฉบับ เพื่อขยายความร่วมมือให้ใกล้ชิดและ
หลากหลายในหลายเรื่อง ได้แก่ปฏิญญาว่าด้วยเขตแห่งสันติภาพและความเป็นกลาง
(Declaration on the Zone of Peace, Freedom
and Neutrality) ในปี 2514 ปฏิญญาสมานฉันท์อาเซียน
(Declaration of ASEAN Concord) ซึ่งมีการตกลงก่อตั้งสำนักเลขาธิการอาเซียนขึ้นที่
กรุงจาการ์ต้า ประเทศอินโดนีเซีย สนธิสัญญาไมตรีและความร่วมมือในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
(Treaty of Amity and Cooperation in Southeast
Asia) หรือ TAC ซึ่งกำหนดหลักการในการดำเนิน
ความสัมพันธ์ในภูมิภาคของอาเซียนช่วงหลังสงครามเย็นสิ้นสุดลง
อาเซียนได้ขยายวงสัมพันธภาพออกไปสู่ประเทศโดยรอบที่เคยอยู่
ในค่ายคอมมิวนิสต์มาก่อน และเพิ่มสมาชิกขึ้นเป็น
10 ประเทศ โดยเวียดนาม ได้เข้าเป็นสมาชิกเมื่อปี
2538 ประเทศสาธารณรัฐประชาชนลาว และพม่า ในปี
2540 และ กัมพูชาได้เป็นสมาชิกรายที่ 10ซึ่งเป็นรายสุดท้ายที่เข้าร่วมในอาเซียน
เมื่อปี 2542เมื่อเดือนธันวาคม 2540 ผู้นำอาเซียน

ได้รับรองเอกสาร
"วิสัยทัศน์อาเซียน 2020" กำหนดเป้าหมายหลัก
4 ประการ เพื่อมุ่งพัฒนาอาเซียนไปสู่ "ประชาคมอาเซียน"
(ASEAN Community)ให้เป็นผลสำเร็จภายในปี
2563 (ค.ศ. 2020) ซึ่งจะประกอบด้วย "เสาประชาคมหลักรวม
3 เสา" ได้แก่ ประชาคมความมั่นคงอาเซียน
ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน และ ประชาคมสังคม-วัฒนธรรมอาเซียน
รวมทั้งจัดโครงสร้างองค์กรของอาเซียน รองรับภารกิจและพันธกิจ
รวมทั้งแปลงสภาพอาเซียนจากองค์กรที่มีการรวมตัวหรือร่วมมือกันแบบหลวมๆเพื่อสร้างและพัฒนามาสู่สภาพการเป็น
"นิติบุคคล" ซึ่งเป็นที่มาของการนำหลักการนี้ไปร่างเป็น
"กฎบัตรอาเซียน" ซึ่งทำหน้าที่เป็น
"ธรรมนูญ" การบริหารปกครองกลุ่มประเทศอาเซียนทั้ง
10 ประเทศซึ่งผนึกกำลังเป็นหนึ่งเดียวกัน
ดังปรากฏตามสโลแกนที่ว่า "สิบชาติ หนึ่งอาเซียน"

จุดเริ่มต้นที่เป็นรูปธรรมได้สร้างความ
เป็น "ประชาคมอาเซียน" เกิดขึ้นภายหลังจากการประชุมอาเซียนซัมมิท
ครั้งที่ 14 โดยการประกาศใช้ "กฎบัตรอาเซียน"
(ASEAN Charter) จะมีวิถีการเปลี่ยนแปลงที่ยิ่งใหญ่และสำคัญ
คือเป็นการปรับองค์กรในการทำงานแบบ การรวมกลุ่มที่มี
"กฎ" เป็นฐานที่สำคัญ (Rule-Based)
สมาชิกทั้ง 10 ประเทศจะต้องปฏิบัติตามพันธะข้อตกลง
มีการกำหนด "กลไกระงับข้อพิพาท"
พร้อมกับสร้าง "อาเซียน" ให้มีสถานะเป็น
"นิติบุคคล" มีการปรับให้เป็นองค์กรที่มี
"ประชาชน" เป็นศูนย์กลาง ทำให้เกิดประสิทธิภาพของการรวมกลุ่มมากขึ้น
ทำให้เกิด "กระบวนการตัดสินใจ"
จาก การประชุมระดับผู้นำ ซึ่งจะปรากฏเป็น
คณะมนตรี หรือ (Councils) ของอาเซียนขึ้นทำหน้าที่เป็น
3 เสาหลัก ได้แก่ เสาหลักทางด้านการเมืองและความมั่นคง
เศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรมมีการเพิ่มอำนาจ
"สำนักเลขาธิการ" (Secretariat)
และผู้ดำรงตำแหน่งเลขาธิการ (Secretary General)
นอกจากนี้ ประชาคมอาเซียนยังมีการจัดสรรงบประมาณที่เพียงพอ
และลดช่องว่างระหว่างสมาชิกของอาเซียนลงวัตถุประสงค์ที่ปรากฏใน
ที่มา : http://www.thaingo.org/writer/view.php?id=1324
|